วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รูปภาพประกอบ







ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=138829

ประวัติการสู้รบ เพื่อเสรีภาพ ของชนเผ่าอินเดียน



ชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน    เป็นกลุ่มชนผิวเหลืองที่อาศัยในสหรัฐอเมริกา   มานานก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากในอดีตได้มีสงครามเกิดขึ้นมากมายในประเทศสหรัฐอเมริกา ในการแย่งชิงดินแดนการต่อสู้รวมถึงการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างชาวอเมริกากับชาวอินเดียนแดง  ทำให้อินเดียนแดงได้ลดจำนวนลงอย่างมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่  15-19
                 
โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการกำหนดขยายดินแดนของชาวอเมริกันทำให้เกิดการขยายตัวของพลเมือง และการขับไล่ชาวอินเดียนแดงออกไปอยู่บริเวณส่วนตะวันตกของประเทศ  โดยชาวอินเดียนแดงกว่าหนึ่งแสนคนได้ถูกย้ายไปอยู่บริเวณตะวันตก ถึงแม้ว่าการย้ายถิ่นฐานที่ลงในลายลักษณ์อักษรปรากฏในกฎหมายของสหรัฐอเมริกา   จะเป็นการย้ายตามการสมัครใจ แต่ในทางปฏิบัติชาวอินเดียนแดงหลายเผ่าได้ถูกบังคับให้ย้ายและบังคับให้มีการเซ็นสัญญา ทำให้เกิดมีข้อขัดแย้ง  ที่เรียกว่า สงครามอินเดียนแดง เกิดขึ้นหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา    และเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2419    ทางการสหรัฐได้ออกคำสั่งให้ชาวอินเดียนแดงทั้งหมดถูกสั่งให้ย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในเขตสงวนอินเดียนแดง ในปัจจุบันชาวอินเดียนแดงยังมีการอาศัยปะปนการชาวอเมริกัน และบางส่วนได้เข้ารับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยร่วมกับชาวอเมริกันทั่วไป

ปี 1977 รัฐบาลสหรัฐฯ บังคับให้อินเดียนเผ่าเน็ซเพอร์ซ อพยพออกจากบริเวณหุบเขาวัลโลวา ที่พวกเขาอาศัยอยู่กันมาหลายชั่วอายุคน ให้ไปอยู่ในเขตสงวนแลปไว ที่ทางการจัดให้ แต่โจเซฟหัวหน้าเผ่าเน็ซเพอร์ซ ปฏิเสธที่จะอพยพออกไปจากดินแดน ของพ่อแม่พวกเขา รัฐบาลคนขาวจึงส่งนายพลโฮเวิร์ด พร้อมกำลังทหารมาจัดการกับเผ่าเน็ซเพอร์ซ


หัวหน้าโจเซฟพาคนของเขา ซึ่งประกอบด้วยนักรบ ๒๕๐ คน ผู้หญิงและเด็ก ๔๕๐ คน ม้าอีก ๒,๐๐๐ กว่าตัว ข้ามแม่น้ำหนีกองทัพ ของนายพลโฮเวิร์ด ที่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด และเข้าโจมตีนักรบอินเดียนแดง ด้วยกำลังพลที่มากกว่า แต่หัวหน้าโจเซฟและบรรดานักรบ ได้ใช้ความเชี่ยวชาญที่เหนือกว่า ต่อสู้จนทหารผิวขาวต้องแตกพ่ายกลับไปทุกครั้ง


หัวหน้าโจเซฟพาคนของเขาซึ่งมีทั้งคนแก่ ผู้หญิง และเด็ก หนีเตลิดไปไกลกว่า ๓๐๐ ไมล์ สร้างความประหลาดใจ ให้แก่กองทัพบกสหรัฐฯ เป็นอย่างยิ่ง ทางกองทัพกลัวว่า หากข่าวนี้แพร่ออกไป จะเป็นการประจาน ความไร้ประสิทธิภาพของทหาร ที่ไม่สามารถจัดการกับ อินเดียเผ่าเล็ก ๆ นี้ได้ จึงสั่งเคลื่อนกำลังทหาร หลายพันนายเข้ามา เพื่อทำการรบให้แตกหักเป็นครั้งสุดท้าย


กองทหารม้าสหรัฐฯ เดินทางมาถึงบริเวณแม่น้ำมิสซูรี และได้เข้าโอบล้อมชาวเน็ซเพอร์ซ ซึ่งขณะนั้นเหลือนักรบไม่กี่สิบคน กับเด็ก ผู้หญิง และคนชรา ที่กำลังจะตาย เพราะความหิวโหย และพายุหิมะ ทหารยื่นคำขาดให้อินเดียนยอมจำนน อย่างไม่มีเงื่อนไข หัวหน้าโจเซฟตระหนักดีว่า พวกเขาไม่มีทางชนะอีกต่อไป


ที่ตรงนี้เอง หัวหน้าโจเซฟได้กล่าวคำประกาศยอมแพ้ คำประกาศนี้ สะเทือนหัวใจทุกคน จนกลายเป็นสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ ที่มีการกล่าวถึงบ่อยที่สุด


"บอกนายพลโฮเวิร์ดเถิดว่าข้ารู้ถึงหัวใจของเขา สิ่งที่เขาบอกข้า ฝังอยู่ในหัวใจของข้ามาก่อน ข้าเหนื่อยที่จะสู้รบต่อไป หัวหน้าของเราถูกฆ่าหมด ลุกกิ้ง กลาส ตายแล้ว มันเป็นเรื่องของคนหนุ่ม ที่จะพูดว่าสู้หรือไม่สู้ ผู้ที่นำคนหนุ่มทั้งหลายออกรบตายไปแล้ว อากาศหนาวเย็น และเราต้องการผ้าห่ม เด็ก ๆ ของเรากำลังจะหนาวตาย ประชาชนของข้า หนีไปซ่อนตัวในหุบเขา ไม่มีผ้าห่ม ไม่มีอาหาร และไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน บางทีอาจจะหนาวตาย ข้าต้องการเวลาที่จะค้นหาเด็ก ๆ ของข้า และนับดูว่าเหลือรอดกี่คน บางทีข้าอาจหาพวกเขาเจอท่ามกลางซากศพ


จงฟังข้า หัวหน้าทั้งหลายของข้า หัวใจข้าอ่อนล้าและโศกเศร้า


ณ ที่ดวงตะวันฉายแสง ข้าจะไม่สู้รบอีกต่อไป"

จากประวัติศาสตร์การสู้รบอันขมขื่นของผู้เป็นเจ้าของทวีปอเมริกามา2000 กว่าปี ที่ต้อง   “ลุกขึ้นมาต่อสู้กับคนขาวที่เข้ามารุกรานแย่งชิงดินแดนของพวกเขา”   นักรบอินเดียนแดงเผ่าแล้วเผ่าเล่าต่างยืนหยัดต่อสู้ผู้บุกรุก   สงครามแต่ละครั้งทำให้อินเดียนแดงต้องสูญเสียทุกสิ่งลงไปเรื่อยๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังคงแน่วแน่ในจิตวิญญาณของพวกเขาคือ ความรักและความเคารพต่อผืนแผ่นดิน   แผ่นฟ้ากว้างใหญ่ผืนป่าทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งของปัจจัยในการดำรงชีวิต    มิใช่หวงแหนในฐานะเจ้าของที่ครอบครอง แต่ในฐานะที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติหาใช่ในฐานะเจ้าของธรรมชาติ    ที่ได้รับอากาศเพื่อหายใจเฉกเช่นเดียวกับต้นหญ้า อยู่ใต้แสงแห่งดวงตะวันที่ทาบทอท้องทุ่งในตอนเที่ยงวัน เช่น ฝูงควาย กวาง และสัตว์ป่าชนิดต่างๆ

อ้างอิง
http://board.postjung.com/735502.html

เมื่ออเมริกา เข้ามายึดครองอาณานิคม



การยึดอเมริกาเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปนำมาซึ่งความขัดแย้งและการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมของโลกเก่าและ โลกใหม่เป็นเวลาหลายร้อยปี บันทึกตามลายลักษณ์อักษรทางประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับชนพื้นเมืองเขียนโดยชาวยุโรปหลังจากที่ได้พบกันเป็นครั้งแรก สังคมของชาวพื้นเมืองอเมริกันดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์และเกษตรกรรมแบบยังชีพ (subsistence) ซึ่งเป็นคุณค่าที่แตกต่างจากระบบคุณค่าของชาวยุโรปที่เข้ามาจับจองดินแดน ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของชนสองกลุ่มและการสับเปลี่ยนความเป็นพันธมิตรระหว่างกันต่อกันภายในแต่ละกลุ่มนำไปสู่ความเข้าใจผิดต่างๆ และความขัดแย้งทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น
ประมาณกันประชากรพรี-โคลัมเบียของที่ที่ปัจจุบันคือสหรัฐอเมริกามีระหว่าง 1 ถึง 18 ล้านคน
หลังจากอาณานิคมก่อการปฏิวัติต่อเกรตบริเตนได้สำเร็จและก่อตัวขึ้นเป็นสหรัฐอเมริกาแล้วปรัชญาเทพลิขิต (Manifest destiny) ก็กลายเป็นส่วนสำคัญของขบวนการชาตินิยมอเมริกัน ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 จอร์จ วอชิงตัน และ เฮนรี น็อกซ์เกิดความคิดที่จะสร้าง “ความมีวัฒนธรรม” ให้แก่ชาวพื้นเมืองอเมริกันโดยการเตรียมการมอบสิทธิการเป็นพลเมืองอเมริกันให้ การกลืนชาติ (Assimilation) (ไม่ว่าจะด้วยความเต็มใจเช่นในกรณีของเผ่าชอคทอว์, or forced) กลายมาเป็นนโยบายหลักของคณะผู้บริหารสหรัฐอเมริกาต่อมา เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวพื้นเมืองอเมริกันทางตอนใต้สุดของสหรัฐอเมริกาถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานออกจากที่ตั้งถิ่นฐานเดิมเพื่อปล่อยที่ดินให้กับการขยายตัวของสหรัฐอเมริกา เมื่อมาถึงสงครามกลางเมืองอเมริกา ชาติชนพื้นเมืองอเมริกันหลายชาติก็ถูกอพยพไปอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำมิสซิสซิปปี การโยกย้ายก็มิได้เป็นไปอย่างสงบเสมอไป การต่อต้านที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าสงครามอินเดียนดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1890
ชาวพื้นเมืองอเมริกันในปัจจุบัน มีความสัมพันธ์ที่เป็นเอกลักษณ์กับสหรัฐอเมริกา ชาวพื้นเมืองอเมริกันอาจจะเป็นสมาชิกของชาติ, เผ่า หรือกลุ่มชาวพื้นเมืองอเมริกันผู้มีฐานะเป็นรัฐที่เป็นอิสระจากรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา สังคมและวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองอเมริกันยังคงมีความรุ่งเรืองอยู่ท่ามกลางประชาชนอเมริกันที่มีเชื้อสายอื่นๆ เช่นชาวแอฟริกัน ชาวเอเชีย ชาวตะวันออกกลาง และ ชาวยุโรป ชาวพื้นเมืองอเมริกันที่ยังไม่มีสัญชาติอเมริกันก็มาได้รับสัญชาติตามรัฐบัญญัติว่าด้วยสัญชาติอเมริกันสำหรับชาวอินเดียน ค.ศ. 1924 (Indian Citizenship Act of 1924) ที่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki/

ชาวอินเดียนแดง เผ่าต่างๆ และการเป็นอยู่



ชาวอินเดียนแดงทุกคนถือเป็นสมบัติของชนเผ่า และชนเผ่าก็จะประกอบไปด้วยหมู่ต่างๆ แต่ละหมู่ก็จะประกอบไปด้วยครอบครัวประมาณสองสามครัวเรือน สมาชิกทุกคนในหมู่ก็จะดูแลซึ่งกันและกัน พวกเขาจะล่าสัตว์ ตกปลา และปลูกพืชด้วยกัน และจะแบ่งผลิตผลที่ได้มาให้แก่กันอย่างถ้วนหน้า ชาวอินเดียนแดงนี้ยังแบ่งออกเป็นอีกหลายชนเผ่า ซึ่งจะแยกกันอยู่ไปตามบริเวณต่างๆของประเทศ
เผ่านาวาโฮ ก็จะหลักแหล่งอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ชนเผ่านี้จะมีชื่อเสียงในเรื่องของการทอผ้าได้สวยงาม และในเรื่องของงาน หัตถกรรม
ชนเผ่าไฮดา ก็จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือแถบมหาสมุทรปาซิฟิก เสาไม้หลัก ที่เป็นสัญลักษณ์ของชนเผ่าไฮดา ก็คือเสา ซึ่งแกะสลักมาจากไม้และถือเป็นสิ่งที่บันทึกเรื่องราวตำนานของบรรพบุรุษ และเทพเจ้าของชนเผ่า



นอกจากนั้นก็ยังมีอีกหลายเผ่าที่อาศัยอยู่บริเวณตอนกลางของอเมริกา ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่ ชนเผ่าต่างๆนี้ส่วนมากจะเป็นพวกเร่รอน และใช้เวลาส่วนมากในการไล่ตามฝูงวัวฝูงควายเพราะอาหารหลักของพวกเขาก็คือ เนื้อควาย นอกจากนั้น พวกเขายังเอาหนังควายมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและมาทำเป็นกระโจมที่อยู่อาศัย
ในตอนแรกชนเผ่าดินเดียนแดงแห่งทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่นี้ จะใช้วิธีเดินล่าควาย แต่ต่อมาเมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวสเปนนำม้าเข้ามาชาวอินเดียนแดงจึงเริ่มเปลี่ยนมาเป็นการขี่ม้าไล่ล่าฝูงวัวฝูงควาย ในเวลาต่อมาชาวอินเดียนแดง ก็ได้กลายเป็นนักขี่ม้าชั้นเยี่ยม และพวกเขายังสามารถยิ่งธนูหรือลูกดอกขณะควบม้าได้ โดยที่ไม่ต้องใช้อานหรือบังเหียนเลยด้วย
เมื่อชนเผ่าอินเดียนแดงเริ่มออกเดินทางร่อนเร่ พวกเขาก็จะนำเอาสิ่งของสัมภาระของเขาทั้งหมดติดตัวไปด้วย โดยพวกเขาจะรวบรวมสิ่งของทั้งหมดลงในกล่องไม้และใช้สุนัข หรือม้า ลากตามไป เครื่องมือต่างๆ กระโจม,เสื้อผ้า,ภาชนะปรุงอาหารและสิ่งของจำเป็นอื่นๆนี้จะต้องง่ายแก่การเก็บและมีน้ำหนักเบา ชาวอินเดียนแดง ทุกเผ่าจะไม่ใช้เครื่องมือที่เป็นโลหะ แต่พวกเขาจะใช้เครื่องมือที่ทำมาจากไม้หรือหินแทน
ผู้หญิงชาวอินเดียนแดง มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการตัดเย็บเสื้อผ้าที่ทำมาจากหนังควายที่พวกผู้ชายล่ามาได้ ขนของควายจะฟูหนาขึ้นในช่วงฤดูหนาว ดังนั้นหนังควายที่ได้มาในฤดูอื่นๆก็จะนำมาตัดเป็นเสือ,เครื่องแต่งกายและกางเกงใน ที่ชาวอินเดียนแดงสวมใส่ ซึ่งเรียกว่า ผ้าพันแข็ง ชายอินเดียนแดงส่วนใหญ่ มักจะใช้เวลาทั้งหมดไปกับการล่าฝูงควายหรือสัตว์อื่นๆที่สามารถนำมาเป็นอาหารได้ นับเป็นเรื่องยากทีเดียวที่นายพรานจะเจียดเวลามาทำกิจกรรมอื่นๆได้ เพราะว่าการล่าสัตว์จะต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะล้ม และฆ่าสัตว์ต่างๆให้ได้มากพอที่จะนำมาเป็นอาหารของคนทั้งหมดได้

อ้างอิง
http://www.xn--42c8ao1akazf5c2be0gsk.com/

ที่มาของคำว่า กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน



กลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา (อังกฤษNative Americans in the United States) เป็นวลีที่หมายถึงชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาจากทวีปอเมริกาเหนือที่รวมแผ่นดินใหญ่ของสหรัฐอเมริกา และบางส่วนของอะแลสกา และฮาวาย ที่ประกอบด้วยกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันหลายกลุ่มที่เป็นชนเผ่าอินเดียน (Indian tribe) แต่เป็นคำที่ถือว่าไม่สุภาพต่อคนหลายคนที่รวมทั้งรัสเซลล์ มีนส์นักปฏิกิริยาของขบวนการอเมริกันอินเดียน (American Indian Movement) ตามความเห็นของมีนส์ “ในการสัมนานานาชาติของอินเดียนจากทวีปอเมริกาที่กรุงเจนีวาในสวิตเซอร์แลนด์ที่สหประชาชาติ ใน ค.ศ. 1977 เราเห็นพ้องกันว่าเราจะใช้คำว่า “อเมริกันอินเดียน”” ผู้อื่นที่สนับสนุนการใช้คำว่า “Native American” (ชนพื้นเมืองอเมริกัน) ไม่เห็นความสำคัญของการใช้คำและอ้างว่า “การตกลงเป็นเอกฉันท์มิได้เกิดขึ้นระหว่างสมาชิกที่เป็นชนพื้นเมืองเกี่ยวกับชื่อที่ต้องการที่จะใช้” “ชนพื้นเมืองอเมริกัน” บางครั้งก็เรียกว่า “อินเดียน” “อเมริกันอินเดียน” “แอบบอริจินัลอเมริกัน” “อเมรินเดียน” “อเมรินด์” “ชนผิวสี” (Colored) “อเมริกันแรก” “ชนพื้นเมือง” “อเมริกันดั้งเดิม” “อินเดียนแดง” และ “คนผิวแดง”

อ้างอิง
http://th.wikipedia.org/wiki

ที่มาของคำว่า อินเดียนแดง



ผู้ที่เป็นคนตั้งชื่อ อินเดียนแดง ให้กับชนพื้นมืองเผ่านี้ก็คือนักสำรวจชื่อ โคลัมบัส เมื่อครั้งที่เรือสำรวจของเขาแล่นมาถึงที่อเมริกาในปี พ.ศ.2035 (ค.ศ.1492) โคลัมบัสเข้าใจผิดคิดว่าเขาได้เดินทางมาถึงอินเดียแล้ว ผู้ที่มาก่อตั้งถิ่นฐานในอเมริกาในยุคแรก ถูกเรียกเป็นอินเดียนแดงก็เพราะว่า คนยุโรปที่อาศัยในเขตหนาวซึ่งจะมีผิวซีดๆได้มองเห็นผิวสีน้ำตาลอ่อนของพวกชาวพื้นเมืองเป็นสีแดง เพราะถูกแดดเผานั่นเอง

อ้างอิง
http://www.xn--42c8ao1akazf5c2be0gsk.com/